ระเบียบ/ขั้นตอน

ระเบียบ/ข้อบังคับ และขั้นตอนต่างๆ

นักศึกษาที่เรียนครบตามโครงสร้างหลักสูตรแล้ว ต้องทำเรื่องขอจบการศึกษากับมหาวิทยาลัย เพื่อให้มหาวิทยาลัยอนุมัติจบการศึกษาและออกเอกสารต่างๆ (ใบรายงานผล Transcript, ใบรับรองคุณวุฒิ, ใบปริญญาบัตร) หากนักศึกษาไม่ยื่นขอจบการศึกษาจะถือว่าไม่จบการศึกษา

ขั้นตอนการขอจบการศึกษามีดังนี้
1.ดาวน์โหลดแบบฟอร์มผลการตรวจสอบโครงสร้างหลักสูตรและระเบียบการเรียน <ดาวน์โหลด>
2.ดาวน์โหลดผลการตรวจสอบโครงสร้างหลักสูตรอัตโนมัติ (ตั้งแต่ นศ.รุ่น 60 ขึ้นไป) <ดาวน์โหลด> กรณีนักศึกษาตกค้าง (รุ่นรหัสต่ำกว่า 60) ให้ใช้แบบฟอร์มโครงสร้างของระบบเก่ากรอกด้วยมือ <ดาวน์โหลด>
3.นำเอกสารข้อ (1.) และ (2.) ส่งอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบและอนุมัติผล
4.นำเอกสารข้อ (1.) และ (2.) หลังจากที่ผู้เกี่ยวข้องอนุมัติแล้ว พร้อมแนบรูปถ่ายชุดครุยขนาด 1 และ 2 นิ้ว อย่างละ 2 รูป มายื่นคำร้องขอจบการศึกษาที่สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน (Counter Service) เพื่อบันทึกคำร้อง
5.ตรวจสอบผลการจบการศึกษาได้ที่ <ตรวจสอบ>

*** นักศึกษาจะจบการศึกษาก็ต่อเมื่อเรียนครบโครงสร้างหลักสูตร และได้ยื่นคำร้องขอจบการศึกษาแล้วเท่านั้น
*** กรณียื่นคำร้องขอจบในครั้งใดแล้วผลปรากฎว่าไม่จบการศึกษาตามโครงสร้าง ให้นักศึกษายื่นคำร้องขอจบใหม่ทุกครั้ง
การลาพักการเรียน หมายถึงการที่นักศึกษามีการลงทะเบียนเรียนและได้ชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียนแล้ว แต่ไม่ประสงค์จะเรียนในภาคการศึกษานั้นๆ

การปฏิบัติ
ให้นักศึกษามายื่นคำร้องขอลาพักการเรียนที่เค้าเตอร์สำนักส่งเสริมฯ
*** เกรดของผู้ที่ทำเรื่องขอลาพักการเรียนในภาคการศึกษานั้นๆ จะเป็นเกรด W ทุกรายวิชา
การรักษาสภาพนักศึกษา หมายถึงการคงสภาพการเป็นนักศึกษากรณีที่ไม่มีการลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษานั้นๆ แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
1) กรณีไม่ประสงค์จะลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษานั้นๆ
2) กรณีลงทะเบียนเรียนแล้วและยังไม่ชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียน และไม่ประสงค์จะเรียนในภาคการศึกษานั้นๆ

การปฏิบัติ
ให้นักศึกษามาติดต่อเค้าเตอร์ที่สำนักส่งเสริมฯ เพื่อยื่นคำร้องขอรักษาสภาพนักศึกษา
*** นักศึกษาต้องทำการรักษาสภาพนักศึกษาทุกภาคการศึกษาที่ไม่มีการลงทะเบียนเรียน จนกว่าจะจบการศึกษา และนักศึกษาสามารถขอรักษาสภาพย้อนหลังได้
การพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา (รีไทร์ - ออกตามระเบียบวัดผล) ระดับปริญญาตรี

มีข้อกำหนดดังนี้
1) นักศึกษาชั้นปีที่ 1 เมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่ 2 มีเกรดเฉลี่ยรวมต่ำกว่า 1.60
2) นักศึกษาชั้นปีที่ 2,3,4... เมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่ 2 มีเกรดเฉลี่ยรวมต่ำกว่า 1.80
3) นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาได้ก็ต่อเมื่อมีเกรดเฉลี่ยรวม ไม่ต่ำกว่า 2.00
4) กรณีข้อ 3) หากเกรดเฉลี่ยไม่ถึง 2.00 จะต้องลงทะเบียนเรียนเพิ่มเติมในรายวิชาตามโครงสร้างที่ไม่เคยเรียนมาก่อน ให้ได้เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 ถึงจะสำเร็จการศึกษา
<คลิกเพื่อคำนวณการรีเกรด>
การยกเลิกวิชาเรียน หมายถึงการยกเลิกผลการประเมินวิชานั้นๆ การยกเลิกวิชาเรียนจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อนักศึกษาได้ชำระเงินค่าลงทะเบียนแล้วเท่านั้น กรณีรายวิชาที่ยกเลิกเป็นวิชาประเภทบังคับเรียน นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนวิชานั้นใหม่ โดยรายวิชาที่ทำการยกเลิกจะมีผลการเรียนเป็นเกรด W และจะแสดงในใบรายงานผลการเรียน (Transcript) ด้วย

การปฏิบัติ
ให้นักศึกษามาติดต่อเค้าเตอร์ที่สำนักส่งเสริมฯ เพื่อยื่นคำร้องขอยกเลิกวิชาเรียน
*** การยกเลิกวิชาเรียนจะต้องดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนดในปฏิทินวิชาการ <ดูปฏิทินวิชาการ>
การยื่นคำร้อง ผ่อนผัน/ขาดสอบปลายภาค หมายถึงกรณีที่นักศึกษาไม่สามารถมาดำเนินการสอบปลายภาคได้ มี 2 กรณี คือ
1) กรณีรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า
2) กรณีมีเหตุให้ไม่สามารถดำเนินการสอบได้ในวันสอบปลายภาค

การปฏิบัติ
1) ให้นักศึกษามาติดต่อเค้าเตอร์ที่สำนักส่งเสริมฯ เพื่อยื่นคำร้องขอขาดสอบปลายภาคพร้อมแนบเอกสารหลักฐาน ภายใน 15 วัน หลังเปิดเทอมถัดไป หรือขอยื่นก่อนก็ได้ หรือดูกำหนดการตามปฏิทินวิชาการ <ดูปฏิทินวิชาการ>
2) คณะกรรมการจะดำเนินการพิจารณาคำร้อง อนุญาต/ไม่อนุญาติ ให้สอบ
3) สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนจะแจ้งผลการพิจาณาให้ทราบที่เว็บไซต์สำนักส่งเสริมฯ <ดูข่าวประกาศ>
ขั้นตอนการเทียบโอนและเอกสารที่ใช้ประกอบการขอโอน/ยกเว้นผลการเรียน (ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา)

1. ดาวน์โหลดคำร้องขอโอน/ยกเว้นผลการเรียน (ระดับปริญญาตรี) ดาวน์โหลด
2. ดาวน์โหลดคำร้องขอโอน/ยกเว้นผลการเรียน (ระดับบัณฑิตศึกษา) ดาวน์โหลด
3. แนบใบแสดงผลการการศึกษา (Transcript) เช่น วุฒิ ปวส. หรือใบแสดงผลการการศึกษาที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันที่เคยเรียนมา
4. แนบโครงสร้างหลักสูตรให้ตรงกับปีที่เข้าศึกษาและตรวจเช็ครหัสวิชา ชื่อวิชา ให้ตรงตามโครงสร้าง
5. แนบคำอธิบายรายวิชาจากสถาบันเดิม เฉพาะวิชาที่ขอยกเว้นผลการเรียน (กรณีเทียบโอนต่างสถาบัน)
6.เขียนรายวิชาที่ต้องการเทียบโอนในคำร้องให้ถูกต้อง (รายวิชาที่ขอยกเว้นผลการเรียน เกรดต้องไม่ต่ำกว่า C หรือ 2.00 ขึ้นไป)
7. กรณีขอโอน จะต้องโอนทุกรายวิชา (เฉพาะนักศึกษาที่เคยเรียน มรภ.นศ. เกรดทุกวิชาต้องไม่ติด I และ E)
8. อาจารย์ที่ปรึกษาและคณบดีลงนามในใบคำร้องขอโอน/ยกเว้นผลการเรียนทุกใบที่มีการเขียนคำร้อง
9. ส่งคำร้องขอโอน/ยกเว้นผลการเรียน ที่ฝ่ายหลักสูตรและมาตรฐานการศึกษา สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน (พี่ติ๊ก)

***ส่งคำร้องตรงตามวัน-เวลาที่ปฏิทินวิชการกำหนดเท่านั้น***
<ดูปฏิทินวิชาการ>
การปฏิบัติ
1) ให้นักศึกษามายื่นคำร้องที่เค้าเตอร์บริการสำนักส่งเสริมฯ พร้อมแนบรูปถ่ายชุดนักศึกษาขนาด 1 นิ้ว 2 รูป ยกเว้นกรณีขอไปเทียบโอนไม่ต้องใช้รูปถ่าย
2) นำคำร้องไปชำระเงินที่ฝ่ายการเงิน
3) นำคำร้องพร้อมใบเสร็จมายื่นที่สำนักส่งเสริมฯ พร้อมนัดวันรับเอกสาร
ใบรับรองการจบการศึกษา หมายถึงใบรับรองการจบการศึกษาที่ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาที่อยู่ระหว่างรออนุมิติการจบการศึกษาจากสภามหาวิทยาลัย โดยมีอายุการใช้งาน 90 วัน
การปฏิบัติ
1) ให้นักศึกษามายื่นคำร้องที่เค้าเตอร์บริการสำนักส่งเสริมฯ พร้อมแนบรูปถ่ายชุดครุยขนาด 2 นิ้ว 2 รูป
2) นำคำร้องไปชำระเงินที่ฝ่ายการเงิน
3) นำคำร้องพร้อมใบเสร็จมายื่นที่สำนักส่งเสริมฯ พร้อมนัดวันรับเอกสาร
การขอเอกสารทางการศึกษา ใบรายงานผลการศึกษา Transcript - ใบรับรองคุณวุฒิ - ใบปริญญาบัตร (กรณีสูญหาย) มีขั้นตอนดังนี้
1) แจ้งความต่อเจ้าพนักงานสืบสวน ระบุเอกสารที่สูญหาย
2) ติดต่อมหาวิทยาลัย เพื่อรับคำร้อง เพื่อชำระเงิน

การปฏิบัติ
1) ติดต่อรับคำร้อง ณ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน พร้อมแนบเอกสารแจ้งความ และรูปถ่ายชุดครุยเดิม 1 นิ้ว และ 2 นิ้ว อย่างละ 2 รูป
2) นำคำร้องชำระเงิน ณ งานการเงิน สำนักงานอธิการบดี
3) นำคำร้องพร้อมใบเสร็จชำระเงิน ติดต่อ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน และนัดวันรับเอกสาร

ผู้มีสิทธิสอบปลายภาคคือผู้ที่ชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียนแล้วเท่านั้น
การสอบปลายภาค มีขั้นตอนดังนี้
1) ตรวจตารางสอบปลายภาคจากระบบริการนักศึกษา ตรวจสอบตารางสอบปลายภาค
2) เข้าสอบตามวัน เวลา ห้องสอบ ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การปฏิบัติ
1) เตรียมบัตรนักศึกษา ปากกา ดินสอ 2B และอื่นๆ ตามที่ผู้สอนอนุญาต
2) ควรไปรอที่ห้องสอบก่อนสอบ
ตารางสอบซ้ำ คือ ตารางสอบของนักศึกษารายบุคคล มีวันสอบและเวลาสอบตรงกัน ตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไป(ส่วนใหญ่จะปรากฎในรายวิชาเรียนร่วม)

การดำเนินการแจ้ง ตารางสอบปลายภาคซ้ำซ้อน มีขั้นตอนดังนี้
1. นักศึกษาตรวจสอบตารางสอบปลายภาค รายบุคคล
2. กรณีตารางสอบปลายภาค ซ้ำซ้อน ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
3. นำแบบฟอร์มติดต่องานทะเบียน สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
4. นำแบบฟอร์มที่ได้จากงานทะเบียน ติดต่อผู้สอน
5. นักศึกษาเข้าสอบปลายภาคตามเวลาและห้องสอบที่ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน กำหนดให้เท่านั้น

*** ตารางสอบปลายภาคซ้ำซ้อน ดำเนินการแจ้งงานทะเบียนก่อนถึงวันสอบเท่านั้น ***
การย้ายหรือเปลี่ยนสาขา มีขั้นตอนดังนี้

1. นักศึกษาติดต่อรับคำร้อง ณ เคาเตอร์บริการ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
2. นำคำร้องติดต่อ สาขา และคณะที่สังกัดเดิม เพื่อแจ้งให้คณะรับทราบ
3. นำคำร้องติดต่อ สาขา และคณะที่เข้าสังกัดใหม่ เพื่อยืนยันการรับเข้า
4. นำส่งคำร้อง ณ เคาเตอร์บริการ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เพื่อเสนอผู้บริหารรับทราบ
5. นำคำร้อง ชำระเงินค่าขึ้นทะเบียน ณ งานการเงิน สำนักงานอธิการบดี
6. นักศึกษารับ รหัสประจำตัวนักศึกษาใหม่ จาก เคาเตอร์บริการ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน

*** นักศึกษาที่ต้องการย้ายหรือเปลี่ยนสาขา ต้องมีการลงทะเบียนเรียน 1 ภาคการศึกษาตามข้อบังคับ ***